ข่าวจากเว็บไซต์
หัวข้อ
- ปัญหา อ.ที่ปรึกษาหลัก
- รับทำวิจัย 77 จังหวัดในไทย
- Thesis Research
- มองเว็บรับจ้างทำวิจัยให้ดี ๆ
- Logistics
- ประเมินรับทำวิจัย โกง
- การหาคุณภาพแบบสอบถาม
- แบบสอบถาม
- ระวัง!!! 5 กลโกง รับทำวิจัย
- ทีมดร.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
- Copy วิทยานิพนธ์ ยึด!! ปริญญา
- ใบเสนอราคา สำคัญ?
- บริการ วิทยานิพนธ์ ดีดี
- Eviews/STATA
- HQ Thesis
- การวางแผนทำวิทยานิพนธ์
- รับทำวิจัยไม่โกง 100%
- excel หากลุ่มตัวอย่างของยามาเน่
- บริการวิจัย สาขาวิชา
- ทำวิจัย เรื่องจริงที่ต้องรู้
- เรียนไม่จบ-เล่มไม่ผ่าน
- 9 Check ก่อนตัดสินใจใช้บริการ รับจ้างทำวิจัย
- คุณภาพอันดับ 1
- แก้งาน เว็บรับทำวิจัยคุณภาพต่ำ
- ทำวิจัยอะไรสำคัญสุด
- 7 สัญญานเตือน โดนโกงแน่!!!!
- รับทำวิจัย โกง
- ล้างแค้นเว็บโกง!! รับจ้างทำวิจัย
ติดต่อ/สอบถามราคา
็HOTLINE : 080-563-9991
Facebook
Copy วิทยานิพนธ์ ยึด!! ปริญญา
Copy งานวิจัย โดนยึด!! ปริญญาแน่
"การตรวจ % การคัดลอก Plagiarism
เป็น 1 ใน 10 ขั้นตอนมาตรฐานการทำงานของ Thesis DD"
เป็น 1 ใน 10 ขั้นตอนมาตรฐานการทำงานของ Thesis DD"
|
ความเจริญอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เอื้ออํานวยความสะดวกแก่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ และบุคคลผู้สนใจทั่วไป ในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว สามารถบริหารจัดการข้อมูลต่างๆ ได้อย่างคล่องตัว อาทิ การจัดเก็บไฟล์ข้อมูล การส่งต่อไฟล์ข้อมูลรวมทั้งการนําข้อมูลที่ได้รับจากการสืบค้นมาใช้ประโยชน์ในเชิงการอ้างอิง ความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศก็นํามาสู่ปัญหาเชิงวิชาการ โดยเฉพาะปัญหาด้านการคัดลอกผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย สิ่งพิมพ์ และวิทยานิพนธ์ กล่าวคือ ผู้ที่ขาดความเข้าใจ หรือไม่ได้ตระหนักถึงความสําคัญในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาอาจดําเนินการคัดลอกหรือนําผลงานผู้อื่นมาใช้ประโยชน์ อย่างไม่ได้ตั้งใจที่จะเพิกเฉยการเคารพถึงทรัพย์สินทางปัญญา ในขณะเดียวกัน ผู้ที่คิดไม่สุจริตก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก ง่ายดายและสามารถดัดแปลงไปใช้ประโยชน์ต่อโดยคาดว่าจะไม่มีผู้ใดทราบว่าผลงานดังกล่าวไม่ใช่ของตน การกระทําดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงในทางวิชาการ โดยเฉพาะในเชิงการคัดลอกผลงานของผู้อื่น หรือการละเมิดทรัพยสินทางปัญญา อันเป็นประเด็นเชิงวิชาการที่ ส่งผลให้สถาบันวิชาการต่างๆ ทั่วโลกให้ความสนใจและให้ความสําคัญกับประเด็นปัญหาดังกล่าวมากขึ้นเป็นลําดับ หากพิจารณาในสังคมไทย วงการวิชาการระดับอุดมศึกษาก็เผชิญกับปัญหาด้านการคัดลอก ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ มาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่งและสภาพการณ์ดังกล่าว ก็เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กับสภาพการณ์ที่สมาชิกส่วนใหญ่ในสังคมไทยยังขาดความตระหนักและขาดความเข้าใจในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา อันส่งผลให้ประเด็นการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่นไม่ได้รับความสนใจและขาดความพยายามสร้างความตระหนักอย่างจริงจังว่าการกระทําดังกล่าวเป็นความผิดที่ ร้ายแรง ทั้งๆ ที่ตามธรรมเนียมปฏิบัติในระดับมาตรฐานนานาชาตินั้น ผู้ที่คัดลอกงานผู้อื่นเพื่อนํามาขอวุฒิทางการศึกษา สามารถถูกลงโทษได้จนถึงขั้นเพิกถอนปริญญาบัตร |
![]() |
การกระทําที่เข้าข่าย Plagiarism นี้มีมานานแล้ว ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครสนใจเอาความกับผู้กระทําผิดเช่นนี้นัก แม้จะเป็นการกระทําที่นับว่าผิดศีลธรรมและจรรยาบรรณก็ตาม จนกระทั่งพบการกระทําในลักษณะ Plagiarism นี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคม ไม่ว่าจะในวงการวรรณกรรม หนังสือพิมพ์ และการศึกษา อีกทั้งในยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เจริญก้าวหน้าเอื้ออํานวยให้ การคัดลอกต่าง ๆ สามารถกระทําได้โดยง่ายและรวดเร็ว จึงทําให้ Plagiarism แพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักเรียน นักศึกษา ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าสารสนเทศต่าง ๆ โดยนํามาใช้ตัดแปะข้อความของคนอื่นในผลงานของตัวเองโดยไม่มีการอ้างอิง หรือที่เรียกว่า Cyber Plagiarism อันเป็นความมักง่ายและคาดว่าอาจารย์ผู้สอนจะจับไม่ได้ การกระทําดังกล่าวเกิดขึ้นมากในแวดวงมหาวิทยาลัยจึงทําให้สถาบันและองค์กรต่าง ๆ จําเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือสําหรับใช้ตรวจจับ Plagiarism ของเหล่านักเรียน นักศึกษา เมือผู้เขียนได้ไปสัมมนาทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มานําเสนอโปรแกรมตรวจจับ Plagiarism อยู่เสมอ ซึ่งโปรแกรมและฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันมากในการตรวจจับ Plagiarism ได้แก่ Deja vu, e TBLAST, Viper, Turnitin และ Dupli Checker ส่วนของไทยมี Copy Cat และ Anti-Koppae โดยนักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NECTEC) รวมทั้ง อักขราวิสุทธิ์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปรียานุช คลอวุฒิวัฒน์, มม.ป) |
การขโมยความคิดของผู้อื่นเป็นปัญหาอย่างหนึ่งทางด้านคุณภาพการศึกษาในไทยเนื่องจาก การคัดลอก สามารถทำได้ง่ายโดยการตัดแปะข้อความของผู้อื่นกับข้อความบางส่วนของตนเอง ซึ่งแม้ว่า มีการอ้างอิงอย่างถูกต้องแล้วข้อความทั้งประโยคนั้นก็ยังถือว่าเป็นการคัดลอกแม้ว่าหลายสถาบันการศึกษาได้นำโปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกมาใช้เพื่อตรวจจับการคัดลอกข้อมูลที่ตรวจพบอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากข้อจำกัดของโปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกที่อาจระบุแหล่งที่มาของข้อความต้นฉบับผิด ดังนั้น การตรวจสอบงานเขียนทางวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญยังคงมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจสอบเนื้อหาทั้งหมดและแนวคิดหลักที่ใช้ในงานเขียนได้อย่างละเอียด เช่น การคัดลอกระดับคำกลุ่มคำหรือประโยค ตลอดจนความถูกต้องในการอ้างอิงข้อมูล การเลือกใช้วิธีการเขียนที่ถูกต้องเพื่อ หลีกเลี่ยงการคัดลอกย่อมแสดงถึงการเป็นผู้มีความตระหนักรู้และมีจริยธรรมในทางวิชาการ ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษากลวิธีหลีกเลี่ยงการคัดลอกที่ใช้ในการแก้ไขงานเขียนของนักศึกษา ระดับปริญญาโท สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลาและเพื่อนำเสนอ กลวิธีแก้ไขงานเขียนที่นักศึกษาใช้จริง ทั้งวิธีที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมในการแก้ไขข้อความที่ตรวจพบการคัดลอก จากงานเขียนโครงร่างวิจัยภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาโท โดยเฉพาะส่วนบทนำและการทบทวนวรรณกรรม เนื่องจากเป็นเนื้อความที่มีความเกี่ยวโยงกับความคิดหรือข้อความที่นำมาจากแหล่ง อ้างอิงที่หลากหลาย เช่น หนังสือ วารสารวิชาการ บทความวิจัย เป็นต้น การศึกษานี้จะนำไปสู่การส่งเสริมการเลือกใช้กลวิธีหลีกเลี่ยงการคัดลอกที่เหมาะสมกับข้อความที่ตรงกับความคิดของตน การอ้างอิงข้อมูล ที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และวิธีการเขียนอย่างมีจริยธรรมในการผลิตผลงานทางวิชาการ |
Thesis DD หวังว่าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ให้ลูกค้าตระหนักถึงผลลัพธ์ที่อาจตามมา หากพิจารณาเลือกใช้เว็บรับทำวิจัยทั่วไปที่ไม่มีจรรยาบรรณ และใช้วิธีก็อบปี้เป็นหลักและไม่มีการตรวจยืนยัน % ผลการคัดลอก Plagiarism ก่อนส่งมอบงานถึงมือลูกค้า

ที่มา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2555). สิ่งพิมพ์วิทยานิพนธ์ การคัดลอกผลงานวิจัยประเด็นสำคัญที่ควรรู้. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียานุช คลอวุฒิวัฒน์. (มม.ป). เรากําลังเข้าข่าย Plagiarism หรือไม่ ?.
ทิวนภา ศิริพรหม. (2560). กลวิธีเพื่อหลีกเลี่ยงการคัดลอกงานเขียนทางวิชาการ: กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ. วารสารมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 14(2). 47-60
ปรียานุช คลอวุฒิวัฒน์. (มม.ป). เรากําลังเข้าข่าย Plagiarism หรือไม่ ?.
ทิวนภา ศิริพรหม. (2560). กลวิธีเพื่อหลีกเลี่ยงการคัดลอกงานเขียนทางวิชาการ: กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ. วารสารมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 14(2). 47-60
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
|||
เกี่ยวกับเรา | ติดต่อเรา | บริการของเรา | บทความเด่น |
1 เอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 47 ถนนสาทรใต้ | TEL : 080-563-9991 | แปลภาษา | รีวิวล่อเหยื่อ |
แขวงยานนาวา เขตสาทร กทม. 10120 | E-MAIL : THESISDD@YANDEX.COM | การค้นคว้าอิสระ | รับทำวิจัยโกง |
LINE.ID : THESISDD | วิทยานิพนธ์ | สัญญานโกง | |
ดุษฎีนิพนธ์ | คุณภาพต่ำ | ||
เครื่องมือวิจัย | สิ่งสำคัญที่สุด | ||
บทความ | วางแผนทำวิจัย | ||
SPSS AMOS | 9 CHECK | ||
อ.ที่ปรึกษา | วิทยานิพนธ์ที่ดี | ||
ผู้เชี่ยวชาญ | วิทยานิพนธ์ไม่ผ่าน |