หากท่านกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทางมหาวิทยาลัยที่ท่านศึกษา จะจัดหาอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักให้ โดยกระจายอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ไปในสาขาวิชาต่าง ๆ สำหรับนักศึกษาปริญญาโท ส่วนนักศึกษาระดับปริญญาเอกอาจมีขั้นตอนที่แตกต่างกับ ป.โท ในการได้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ซึ่งบทความนี้จะนำเสนอความสำคัญและปัญหาเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

บัณฑิตที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ย่อมต้องมีคุณลักษณะเป็นคนเก่ง มีความรับผิดชอบสูง ขยัน และมีเงินก็อาจจบการศึกษาได้แบบสบาย แต่ไม่ได้ง่ายแบบนั้นทั้งหมด ซึ่งเรื่องที่จะนำเสนอต่อไปนี้หลายท่านอาจยังไม่รู้นักศึกษาหลายท่านคิดว่าเป็นเรื่องเล็กไม่สลักสำคัญอะไร ดังนั้น หากตั้งคำถามว่าอะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดในการทำวิทยานิพนธ์ให้ผ่าน ส่วนใหญ่ต้องตอบว่ามีความรู้ เป็นคนฉลาด เก่งกาจด้านวิชาการ เป็นบุคคลที่มีทักษะ ประสบการณ์ ความมุ่งมั่น และอีกมากมายหลายสมรรถนะ เป็นคำตอบที่แตกต่างกันออกไปตามประสบการณ์และความคิดเห็นที่เคยผ่านมา

นักศึกษาจะเริ่มพบกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เริ่มตั้งแต่ นักศึกษาจะต้องนำเสนอเค้าโครง (Proposal) ซึ่งอาจารย์บางท่านก็ไม่ต้องไม่ได้ให้นักศึกษาทำเค้าโครงหรือ Proposal งานวิจัยมาส่งแต่อาจให้นักศึกษาบอกชื่อเรื่องปากเปล่าแค่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์แต่ก็ต้องตกลงกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และให้ท่านอนุมัติชื่อเรื่องก่อนทำอย่างอื่น เพื่อป้องกันปัญหาเปลี่ยนชื่อเรื่องที่อาจเกิดขั้นในอนาคต รวมถึงป้องกันชื่อเรื่องซ้ำกับเพื่อน สมมุติว่าท่านเก่งมาก รอบรู้ และเข้าใจปัญหาของการทำวิทยานิพนธ์ทุกซอกทุกมุม รู้ว่าจะแก้ปัญหางานวิทยานิพนธ์ที่ท่านกำลังศึกษาวิทยานิพนธ์ได้เป็นอย่างดี หรือท่านอาจจะเขียนเนื้อหาในแต่ละบทไปตามแนวทางและความคิดหรือทำตามตัวอย่างของรุ่นพี่ ของเพื่อนที่ผ่านแล้ว หรือจากงานวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องก็ดี เมื่อถึงเวลาที่ท่านต้องส่งงานให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจ ท่านก็จะได้ผลตอบกลับมาจากอาจารย์ที่แตกต่างกันออกไป ท่านอาจมีแก้บ้างเล็กน้อย บางท่านเก่งมากไม่ต้องแก้เลย หรือบางท่านโดนแก้เพียบทั้งที่เนื้อหาก็ไม่ได้ผิดอะไร หรือเพิ่มเติมเนื้อหารวมถึงระยะเวลาการตรวจที่ใช้เวลานาน 2-3 วัน หรืออาจนาน 6 เดือนแตกต่างกันไป

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ไม่มีเวลาว่างให้นักศึกษาได้ปรึกษาสอบถามมากนัก แต่หากท่านได้อาจารย์ที่ “ปรึกษา” ที่มีอีโก้สูง ก็อาจจะทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไปแน่นอน ยังจำคำถามข้างต้นได้ไหมว่าอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ส่งผลกับการทำวิทยานิพนธ์และจบการศึกษาของท่านซักกี่เปอร์เซ็นต์ ที่ส่งผลต่อการทำวิทยานิพนธ์จนสามารถให้ท่านจบการศึกษาได้ บางท่านอาจคิดว่ามีความรู้แบบแน่นๆ เลยก็ทำวิทยานิพนธ์ผ่านได้ ถึงแม้ว่าจะเข้างานของท่านทุกซอกหลืบ แต่ท่านต้องส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจ เคยได้ยินประโยคที่ว่า เหรียญมี 2 ด้านไหมครับ แล้ววิทยานิพนธ์ของท่านมันจะมีกี่ด้าน นักศึกษาอาจมองมุมหนึ่ง แต่ที่ปรึกษาท่านอาจมองอีกมุมหรือมองลึกลงไป หรือด้วยไฟแห่งความมุ่งมั่นของนักศึกษามันลุกโชนอยากให้วิทยานิพนธ์ของตนเองออกมาแบบเต็มสูบ ดูมีคุณค่าอันยิ่งใหญ่ในสามโลก หรือเรียกได้ว่าสุดพลังของท่านก็เข้าใจได้ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งดี เช่นอยากเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างหลายที่ หลายบริษัท แต่ในมุมมองของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ท่านอาจให้คำแนะนำหรือแนวทางในการเก็บข้อมูลเพียงบริษัทเดียว

เพื่อง่ายและชัดเจนต่อการทำวิทยานิพนธ์บทต่อๆ ไปโดยชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญมุมมองที่แจ่มกว่า รวมถึงวิธีการหรือการใช้รูปแบบเพื่อให้นักศึกษาได้มีการเรียนอย่างเป็นระบบตามลำดับขั้นตอน แต่เบื้องต้นอาจารย์ท่านคงฟังมุมมองจากนักศึกษาก่อนเป็นสิ่งแรก ซึ่งหากท่านได้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์แบบนี้ถือว่าโชคดีที่และมีแนวโน้มสูงที่จะจบการศึกษา หากท่านเจอที่ปรึกษาแบบว่า พลาดไม่ได้เคาะเว้นวรรคชื่อนามสกุลบนหน้าปก ต่อว่าโง่ และอีกมากมายและทุกครั้งที่ส่งงานมีข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นการส่งความคืบหน้าก็ต่อว่าจนนักศึกษา ถอดใจ หรือประเภทไม่ด่าไม่พูดอะไรเลยเช่นกรณีทำเค้าโครงเพื่อขออนุมัติชื่อเรื่อง ส่งไปครั้งที่ 1, 2, 3-5 ครั้งไม่ผ่าน นักศึกษาจึงขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาว่าของผมมันควรจะทำเรื่องเกี่ยวกับอะไร ด้านไหน อะไรประมาณนี้เพื่อจะได้เป็นแนวทาง แต่คำตอบที่ได้คือ ถ้าผมบอกคุณผมก็ต้องบอกทุกคนสิ ซวยแท้ ๆ

ยกตัวอย่างอีกประเภทนักศึกษาเค้าโครงเพื่ออนุมัติชื่อเรื่องที่ปรึกษาก็ยังไม่ว่างดูเวลาผ่านไปเป็นเดือนแต่นักศึกษาก็ติดตามถามอยู่เป็นระยะจนอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์บอกว่าทำต่อเลยเดี๋ยวตรวจให้ทีเดียวหลังจากนั้นนักศึกษาก็ทำจนเสร็จ 5 บทส่งจนวันที่อาจารย์แจ้งมาว่าให้ทำใหม่เปลี่ยนชื่อเรื่อง ก็ซวยดิครับ ตัวอย่างสุดท้ายการส่งงานให้ที่ปรึกษาตรวจเมื่องานตีกลับมานักศึกษาก็จะทำการแก้ไขในส่วนที่อาจารย์ comment และก็จะมีการส่งเป็นระยะเพื่อรายงานความคืบหน้าเมื่ออาจารย์ตรวจเสร็จนักศึกษาก็แก้ไขตามที่อาจารย์ comment ซึ่งความถี่และการแก้ไขก็จะต่างกันออกไป แต่ท่านอาจเจอปัญหาให้แก้ตามที่ปรึกษา แบบโน้นสิ แบบนี้สิ สุดท้ายแก้เป็นวงกลมกลับมาที่เดิม หรือแก้จุดเดิมวนไปมา หรือหากซวยหนักมากก็คืองานเละ ปนเปมั่วไปหมด จับต้นชนปลายไม่ได้ ซึ่งตัวอย่างที่ได้กล่าวไปในแต่ละกรณีนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว มันเคยเกิดขึ้นมาหลายครั้งแต่ต่างสถานที่ ต่างเวลา และต่างนักศึกษา ซ้ำไปซ้ำมาซึ่งเป็นประสบการณ์จริงที่หลายท่านอาจยังไม่รู้ และยังมีปัญหาอีกมากมายที่ท่านอาจต้องพบเจอหนักเบาต่างกันออกไป

 บทสรุปของคำตอบ ในบทความนี้ที่ผมอยากชี้ให้ท่านเห็นว่า “อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก” เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการทำวิทยานิพนธ์นับตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบ เส้นทางการทำวิทยานิพนธ์ของท่านจะสบาย ลำบาก หรือถึงทางตัน ขึ้นอยู่กับที่ปรึกษา ว่าจะทำให้การลงทุนครั้งนี้ มีผลออกมาเป็นเช่นไร รวมถึงส่งผลต่อทัศนคติและกำลังใจของนักศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้คือการจบการศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอก หรือจะทำให้ท่านถอดใจ และทิ้งการศึกษาครั้งนี้ไปเลย ดังนั้น Thesis DD จึงได้ทำการรวบรวมปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ไว้ในหลายกรณีเพื่อแนะนำ และให้คำปรึกษากับปัญหาที่นักศึกษาต้องพบเจอซึ่งเป็นตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่เราจะแก้ไขปัญหาอย่างไรให้ผลของมันออกมาดีที่สุดสำหรับนักศึกษา ยกตัวอย่างเช่น การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่าท่านใดจะพาท่านไปถึงปลายทาง การส่งงานอย่างไรที่ไม่ต้องแก้ซ้ำซาก การตอบคำถามที่ตอบไม่ได้ และการแก้ปัญหาอีกมากมายอย่างมืออาชีพที่เราได้รวบรวมไว้เพื่อนักศึกษาที่ต้องการความช่วยเหลือโดยมืออาชีพ