good, bad, opposite-1123013.jpg

ทำวิจัยให้ดี

การวิจัย (Research) เป็นคำที่คุ้นเคยและรู้จักกันอย่างแพร่หลายทุกวงการ ทั้งนักวิชาการและชาวบ้านทั่วไป เนื่องจากงานวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญ ซึ่งลักษณะงานวิจัยที่ดีนั้น ต้องสามารถช่วยแก้ไขปัญหาจากการทำวิจัยหรือการเขียนวิทยานิพนธ์และเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในทุกด้าน ทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยขยายความรู้ความเข้าใจ ในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ให้กว้างขวางลึกยิ่งขึ้น มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ทำให้มนุษย์สามารถเอาชนะธรรมชาติได้อย่างมีหลักเกณฑ์และมีเหตุผล ผ่านการศึกษาเรียนรู้ในการทำงานวิจัย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นกระบวนการเชิงระบบในการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างสมเหตุผล

ลักษณะงานวิจัยที่ดีสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ ได้แก่ การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งผลระยะยาว เพื่อแสวงหาความจริงเกิดขึ้น การวิจัยบริสุทธิ์มุ่งเน้นที่จะแก้ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ใหญ่ จึงใช้เวลาในการวิจัยนาน แต่ผลของการวิจัยจะมีคุณค่ามากการวิจัยบริสุทธิ์ส่วนใหญ่จะเป็นการวิจัยที่เกี่ยวกับทางวิทยาศาสตร์การวิจัยทางฟิสิกส์ทางชีววิทยา หรือทางเคมี และการวิจัยประยุกต์ (Applied Research) การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์เฉพาะหน้า เพื่อนำผลของการวิจัยมาใช้ในสถานการณ์หนึ่ง บางครั้งเป็นการวิจัยที่ประยุกต์ทฤษฎีกับข้อเท็จจริงต่างๆ เพื่อค้นหาความจริงในแต่ละสถานการณ์

ลักษณะงานวิจัยที่ดียังสามารถแบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งอาศัยระเบียบแบบแผนของการวิจัยเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง ได้แก่ การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) เป็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาข้อเท็จจริงในอดีต ซึ่งจะเป็นการทดสอบหรือ ตรวจสอบรายงาน หรือการบันทึกที่มีผู้สังเกตไว้แล้วในอดีตว่าถูกต้องหรือไม่ การวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบรรยาย และค้นหาความจริงที่เกิดขึ้นในการวิจัย การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง โดยมุ่งเน้นที่จะควบคุมลักษณะบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์หนึ่งไว้เพื่อดูผลว่าจะเป็นอย่างไร

การวิจัยนี้จะต้องมีการลองผิดลองถูก ซึ่งนักวิจัยจะต้องสร้างสถานการณ์จำลองขึ้นมา โดยส่วนใหญ่จะเป็นการวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์ ทางคลินิก และการวิจัยในห้องปฏิบัติการ และการแบ่งตามชื่อของการวิจัย คือ อาศัยชื่อเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเป็นหลัก ได้แก่ การวิจัยตลาด (Marketing Research) การวิจัยการศึกษา (Education Research) การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) หากดำเนินการตามมาตรฐานการวิจัยซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดรูปแบบของวิทยานิพนธ์ is หรือดุษฎีนิพนธ์ที่มีลักษณะงานวิจัยที่ดี

การกำหนดเรื่องที่จะทำการวิจัยเป็นขั้นตอนแรกของการวิจัย ซึ่งจุดประสงค์ของการวิจัยคือเพื่อให้ได้ความรู้ที่ใช้ในการแก้ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ นักวิจัยควรจะมีการเลือกปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ที่ผู้วิจัยสนใจและผู้อื่นอยากทราบเพื่อเพิ่ม คุณค่าของงานวิจัย ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ที่นักวิจัยเลือกมาต้องเป็นปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน เหมาะสมที่จะทำการวิจัยข้อสำคัญปัญหาการทำวิทยานิพนธ์นั้นต้องแน่ใจว่าอยู่ในความสามารถที่จะทำได้หลังจากเลือกปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ โดยสร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย นักวิจัยจะต้องเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ซึ่งอาจจะเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสัมภาษณ์ (Interview) หรือแบบสังเกต (Observation) เครื่องมือบางชนิดจะต้องทำการทดสอบ (Try out) ก่อนที่จะนำไปใช้ เก็บรวบรวมข้อมูลจริง ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากขั้นตอนหนึ่ง เพราะถ้าไม่มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดีพอ ข้อมูลที่ได้มาอาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริง ซึ่งจะทำให้ผลงานวิจัยที่ได้ไม่มีคุณภาพขาดคุณลักษณะงานวิจัยที่ดี ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการวิจัยของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เพื่อให้ได้มาซึ่งวิทยานิพนธ์ระดับ ป.โท และดุษฎีนิพนธ์ ป.เอก ที่มีคุณลักษณะงานวิจัยที่ดี จึงจำเป็นต้องนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาทำการวิเคราะห์และแปลความหมาย ทดสอบสมมตฐาน หาความสมพันธ์ระหว่างตัวแปร การพยากรณ์อิทธิผลของตัวแปร สรุปผลและเขียนรายงาน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย ซึ่งจะต้องสรุปผลจากการวิเคราะห์และตีความหมายข้อมูล เพื่อที่จะตอบปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้การเขียนรายงานจะต้องเสนอข้อเท็จจริงที่ได้จากการวิจัย และข้อสรุปพร้อมข้อเสนอแนะสำหรับผู้จะทำการวิจัยครั้งต่อไป

วิทยานิพนธ์ที่มีปัญหาขาดคุณลักษณะงานวิจัยที่ดี มักเกิดจากปัญหาผลการวิจัยขาดความเที่ยงตรง เป็นผลมาจากการออกแบบเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลไม่ครอบคลุม ขาดความตรง และการสุ่มตัวอย่างไม่เป็นตัวแทนของประชากรเป้าหมาย การใช้เหตุผลผิดต้องระมัดระวังการให้เหตุผลไม่ใช่เรื่องเดียวกัน เหตุอย่างหนึ่งผลอย่างหนึ่งจะใช้สนับสนุนกันไม่ได้ การทำวิจัยนั้นอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้หลายประการ จึงควรจะต้องระมัดระวังในข้อผิดพลาดต่างๆ ที่สำคัญอย่าตัดสินใจหรือด่วนสรุปผลการวิจัยนั้นเร็วเกินไป ทั้งที่ยังมีหลักฐานสนับสนุนไม่มากเพียงพอ ทั้งนี้อาจเพราะเชื่อมั่นในทฤษฏีหรือความเห็นของตนเองมากเกินไปฉะนั้น

ก่อนสรุปจะต้องมีข้อมูล มีผลการทดลองที่แน่ใจ และตรวจสอบทุกขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว ละเลยผลการวิจัยที่แตกต่างออกไป การสรุปผลไม่ควรละเลยการวิจัยที่ต่างไปจากทฤษฎีหรือสมมติฐานที่ตั้งขึ้นอาจถูกต้องหรือไม่ก็ได้ ส่งผลทำให้ขาดคุณลักษณะงานวิจัยที่ดี ซึ่งมีสาเหตุมาจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่มากพอ เนื่องจากหาเอกสารไม่พบ ไม่ทราบวาจะไปหาที่ใด และต้องระมัดระวังการการลอกผิดของตัวเลขหรือข้อความคำศัพท์เฉพาะภาษาอังกฤษที่อยู่ในวงเล็บมักจะผิดพลาดเสมอ รวมถึงการทำจรรยาบรรณของนักวิจัย ตามที่สำนักงานวิจัยแห่งชาติสภาวิจัยแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดทำแนวทางปฏิบัติ จรรยาบรรณนักวิจัย ขึ้น เพื่อให้ผู้ทำวิจัยได้พึงสังวรทางคุณธรรมในการทำงานวิจัยเพื่อเป็นเกียรติของนักวิจัยไปสู่การยอมรับระดับชาติ และระดับนานาชาติ

8 thoughts on “ทำวิจัยให้ดี”

  1. Pingback: การวิจัย คืออะไร ตามแนวคิดนักวิชาการ - THESIS DD - by Dr.Kwang

  2. Pingback: ปัญหาของการวิจัย คืออะไร – Researcherthailand

  3. Pingback: การทำวิทยานิพนธ์ในยุคโควิด - THESIS DD - by Dr.Kwang

  4. Pingback: ตัวช่วยในการทำวิทยานินพธ์ ป.โท - THESIS DD - by Dr.Kwang

  5. Pingback: ตัวช่วยทำวิทยานินพธ์ ป.โท - THESIS DD - by Dr.Kwang

  6. Pingback: ทักษะสำคัญในการทำงานวิจัย - THESIS DD - by Dr.Kwang

  7. Pingback: Thesis แตกต่างกับ Dissertation อย่างไร - THESIS DD

  8. Pingback: วิทยานิพนธ์ (Thesis) dif สารนิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ (IS) - THESIS DD - by Dr.Kwang

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *