หากผมถามท่านว่าอะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดในการทำวิจัย หรือทำวิทยานิพนธ์ หลายท่านอาจตอบว่าความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความมุ่งมั่น และอีกมากมาย ถูกต้องคับแต่ก็เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ท่านอาจเก่ง รอบรู้ และเข้าใจปัญหาของการทำวิทยานิพนธ์ทุกซอกทุกมุมรู้ว่าจะแก้ปัญหางานวิจัยที่ท่านกำลังศึกษาวิจัยได้อย่างไร
บางท่านอาจคิดว่าการทำวิจัย จำเป็นต้องมีความรู้แบบแน่นๆ เลยก็ทำวิทยานิพนธ์ผ่านได้ ถึงแม้ว่าจะเข้างานของท่านทุกซอกหลืบ แต่ท่านต้องส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจ เคยได้ยินประโยคที่ว่า เหรียญมี 2 ด้านไหมครับ แล้ววิทยานิพนธ์ของท่านมันจะมีกี่ด้าน นักศึกษาอาจมองมุมหนึ่ง แต่ที่ปรึกษาท่านอาจมองอีกมุมหรือมองลึกลงไป

แต่…ตรงนี้สำคัญครับ การทำวิจัยท่านอาจจะเขียนเนื้อหาในแต่ละบทไปตามแนวทางและความคิดของท่าน หรือทำตามตัวอย่างของรุ่นพี่ ของเพื่อนที่ผ่านแล้ว หรือจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก็ดี เมื่อท่านส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจท่านจะได้ผลตอบกลับมาแตกต่างกันออกไป อาจมีแก้บ้างเล็กน้อย บางท่านเก่งมากไม่ต้องแก้เลย หรือบางท่านโดนแก้เพียบทั้งที่เนื้อหาก็ไม่ได้ผิดอะไร
รวมถึงเวลาการทำวิจัย รวมถึงระยะเวลาในการตรวจนาน 2-3 วัน หรืออาจนาน 6 เดือนถึงได้รับงานที่ตรวจเสร็จ หรือไม่มีเวลาว่างให้นักศึกษาได้ปรึกษาสอบถามมากนัก หรืออาจารย์ที่ “ปรึกษา” เปลี่ยนเป็นอาจารย์ที่ “ชอบด่า” และอีกมากมายปัญหาที่ท่านต้องเจอแน่นอน เตรียมใจไว้เลย

ด้วยไฟแห่งความมุ่งมั่นของนักศึกษาในการทำวิจัยที่มันลุกโชนอยากให้วิทยานิพนธ์ของตนเองออกมาแบบเต็มสูบ จั๊งหนับ ยิ่งใหญ่ได้คุณค่าในสามโลก หรือเรียกได้ว่าสุดพลังของท่านก็เข้าใจได้ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งดี เช่นอยากเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างหลายที่ หลายบริษัท แต่ในมุมมองของอาจารย์ที่ปรึกษาท่านอาจให้คำแนะนำหรือแนวทางในการเก็บข้อมูลเพียงบริษัทเดียว เพื่อง่ายและชัดเจนต่อการวิทยานิพนธ์บทต่อๆ ไป
โดยการทำวิจัยต้องชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญมุมมองที่แจ่มกว่า รวมถึงวิธีการหรือการใช้รูปแบบเพื่อให้นักศึกษาได้มีการเรียนอย่างเป็นระบบตามลำดับขั้นตอน แต่เบื้องต้นอาจารย์ท่านคงฟังมุมมองจากนักศึกษาก่อนเป็นสิ่งแรก ซึ่งหากท่านได้อาจารย์ที่ปรึกษาแบบนี้ถือว่าโชคดีที่และมีแนวโน้มสูงที่จะจบการศึกษา
การทำวิจัย ท่านอาจเจอที่ปรึกษาแบบว่านักศึกษาลืม หรือพลาดเพียงแค่ไม่ได้เคาะเว้นวรรคชื่อนามสกุลบนหน้าปก ต่อว่าโง่ และอีกมากมายและทุกครั้งที่ส่งงานมีข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นการส่งความคืบหน้าก็ต่อว่าจนนักศึกษา ถอดใจ หรือประเภทไม่ด่าไม่พูดอะไรเลยเช่นกรณีทำเค้าโครงเพื่อขออนุมัติชื่อเรื่อง ส่งไปครั้งที่ 1, 2, 3-5 ครั้งไม่ผ่าน นักศึกษาจึงขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาว่าของผมมันควรจะทำเรื่องเกี่ยวกับอะไร ด้านไหน อะไรประมาณนี้

เพื่อจะได้เป็นแนวทางการทำวิจัย แต่คำตอบที่ได้คือ ถ้าผมบอกคุณผมก็ต้องบอกทุกคนสิ เงิบ!!! ยกตัวอย่างอีกประเภทนักศึกษาเค้าโครงเพื่ออนุมัติชื่อเรื่องที่ปรึกษาก็ยังไม่ว่างดูเวลาผ่านไปเป็นเดือนแต่นักศึกษาก็ติดตามถามอยู่เป็นระยะจนอาจารย์ที่ปรึกษาบอกว่าทำต่อเลยเดี๋ยวตรวจให้ทีเดียวหลังจากนั้นนักศึกษาก็ทำจนเสร็จ 5 บทส่งจนวันที่อาจารย์แจ้งมาว่าให้ทำใหม่เปลี่ยนชื่อเรื่อง เงิบ!!!
การทำวิจัย ตัวอย่างสุดท้ายการส่งงานให้ที่ปรึกษาตรวจเมื่องานตีกลับมานักศึกษาก็จะทำการแก้ไขในส่วนที่อาจารย์ comment และก็จะมีการส่งเป็นระยะเพื่อรายงานความคืบหน้าเมื่ออาจารย์ตรวจเสร็จนักศึกษาก็แก้ไขตามที่อาจารย์ comment ซึ่งความถี่และการแก้ไขก็จะต่างกันออกไปตามสาขาวิชานั้น ๆ ที่หลากหลาย

การทำวิจัย ท่านอาจเจอปัญหาให้แก้ตามที่ปรึกษา แบบโน้นสิ แบบนี้สิ สุดท้ายแก้เป็นวงกลมกลับมาที่เดิม หรือแก้จุดเดิมวนไปมา หรือหากซวยหนักมากก็คืองานเละ ปนเปมั่วไปหมด จับต้นชนปลายไม่ได้ ซึ่งตัวอย่างที่ได้กล่าวไปในแต่ละกรณีนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว มันเคยเกิดขึ้นมาหลายครั้งแต่ต่างสถานที่ ต่างเวลา และต่างนักศึกษา ซ้ำไปซ้ำมาซึ่งเป็นประสบการณ์จริงที่หลายท่านอาจยังไม่รู้ และยังมีปัญหาอีกมากมายที่ท่านอาจต้องพบเจอหนักเบาต่างกันออกไป