การทำวิจัย (Research) เป็นคำที่คุ้นเคยและรู้จักกันอย่างแพร่หลายทุกวงการ ทั้งนักวิชาการและชาวบ้านทั่วไป เนื่องจากการทำวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการแก้ปัญหาและพัฒนาวิชาการให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยขยายความรู้ความเข้าใจ ในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นทำให้มนุษย์สามารถเอาชนะธรรมชาติได้อย่างมีหลักเกณฑ์และมีเหตุผล ฉะนั้นการเรียนรู้งานวิจัยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นกระบวนการเชิงระบบในการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างสมเหตุผล ซึ่งเป็นกระบวนการหาความรู้ใหม่ และการทำ is อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ และความรู้นั้นจะเป็นการนำหลักการแนวคิด ทฤษฎี ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่อันเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ชาติ

การทำวิจัย เป็นการทดลองประเภทหนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  เพื่อศึกษาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดปรากฏการณ์ของตัวแปรที่ศึกษาด้วยวิธีการสังเกตและเปรียบเทียบปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น โดยจุดเริ่มต้นของการทำวิจัยเริ่มต้นจาก ปัญหาวิจัยที่ต้องการหาคำตอบ หรือเรียกว่าปัญหานำวิจัย ควรจะเป็นเป็นเรื่องที่ผู้ทำวิจัยสนใจและมีความถนัด โดยทำการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการทำวิจัย ซึ่งเมื่อทราบถึงปัญหานำวิจัยที่ต้องการค้นคว้าแล้ว ก็สามารถเริ่มต้นทำงานวิจัยได้ โดยจะต้องทำตามขั้นตอนแต่ละขั้นตอน ซึ่งจะมีการอ้างอิงทฤษฎี ข้อมูลต่างๆ ประกอบทุกขั้นตอนเพื่อความน่าเชื่อถือ หรือหากเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับท่าน ไม่มีเวลา ติดปัญหาไปต่อไม่ได้ ท่านสามารถทิ้งปัญหาการทำวิจัยให้ Thesis DD มาดูแลจัดการได้แบบเว็บเดียวครบ จบชัวร์ กับบริการแบบครบวงจร ในราคามิตรภาพที่พร้อมสร้างและส่งมอบคุณค่างานวิจัยที่มีคุณภาพให้กับลูกค้าตามมาตรฐานการวิจัยระดับสากล สามารถแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้

บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญของปัญหา และควรมีการอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐานการวิจัย เป็นแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ไม่ให้ออกนอกเส้นทาง ขอบเขตของการวิจัย ต้องการกำหนดขอบเขตทุกด้านอย่างชัดเจน นิยามศัพท์ เป็นคำเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายในงานวิจัยตรงกับผู้ทำงานวิจัย และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยผู้วิจัยจะต้องค้นคว้าผลงานที่ผ่านมา เพื่อนำความรู้ที่มีผู้ค้นพบแล้วมาสนับสนุนงานวิจัยและผลการศึกษา ทฤษฎีต่างๆ ที่รองรับหรือเกี่ยวข้อง เพื่อนำความรู้ที่มีผู้ค้นพบแล้วมาสนับสนุนงานวิจัย และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย รูปแบบที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอนการวิจัย เสนอรายละเอียดของขั้นตอนการวิจัยโดยอธิบายขั้นตอนเป็นข้อ ๆ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นใคร กลุ่มตัวอย่างเป็นใคร และต้องระบุขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และวิธีการที่ใช้ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วย เครื่องมือการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล ระบุวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลว่าใช้วิธีการใด และอย่างไร การวิเคราะห์ข้อมูล ระบุวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการพรรณนาบรรยายให้เข้าใจ และนำเสนอในรูปแบบตารางและกราฟ

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย สรุปผลการวิจัย การอภิปรายผล โดยใช้ทฤษฏีหรืองานวิจัยต่างๆ มาสนับสนุนและเพิ่มความน่าเชื่อถือของงานวิจัย ข้อเสนอแนะเพื่อใช้ประโยชน์จากงานวิจัย และข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคต

การค้นคว้าวิจัยทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ดังนั้น  การศึกษาวิจัยต้องถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด อาจนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกส่งผลให้การทำวิจัยง่ายขึ้น รวมถึงนักวิจัยต้องพัฒนาตนเองหาความรู้พร้อมนำเสนอผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ทางด้านวิชาการในสาขาต่างๆ ศึกษาและค้นคว้าสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ