1. แบ่งประเภทงานวิจัยตามคุณลักษณะของงานวิจัย
ประเภทของงานวิจัยสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทตามคุณลักษณะของงานวิจัย การจัดประเภทเป็นไปตามการจัดจำแนกตามเกณฑ์ต่าง ๆ โดยพิจารณาจากประโยชน์ หรือความต้องการที่จะได้รับจากการวิจัยแบ่งเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) หรือการวิจัยเพื่อหาทฤษฎี สูตร หรือสร้างกฎ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องต่อ ๆ ไป การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยเพื่อนำผลไปทดลอง ใช้แก้ไขปัญหาอื่น ๆ เช่น การวิจัยทางแพทย์ และการวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action Research) เป็นการวิจัยประยุกต์ในลักษณะ หนึ่งที่มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นแต่ละเรื่อง โดยขอบเขตของปัญหานั้นไม่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ อื่น ๆ ได้
2. แบ่งประเภทงานวิจัยตามลักษณะข้อมูล
ประเภทของงานวิจัยเมื่อพิจารณาจากลักษณะของข้อมูล ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Wualitative Research) เป็นการใช้ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ และไม่ได้ใช้คณิตศาสตร์ หรือสถิติเข้ามาช่วย การเก็บข้อมูลทำได้โดย การใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ การบันทึก วิเคราะห์โดยการพรรณนา และสรุปเป็นความคิดเห็น มีการใช้ค่าสถิติได้เล็กน้อยในรูปแบบร้อยละ เป็นต้น และการวิจัยแบบผสม (MIX) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกันในการทำวิจัยและจัดการข้อมูลที่นำมาใช้ในงานวิจัย
3. แบ่งประเภทงานวิจัยตามระดับของการศึกษาตัวแปร
ประเภทของงานวิจัยเมื่อพิจารณาจากระดับของการศึกษาตัวแปร แบ่งออกได้เป็นการวิจัยเพื่อการสำรวจ (Exploratory Study) เป็นการวิจัยเพื่อสำรวจตัวแปร และปรากฎการณ์ของตัวแปร เพื่อนำผลมาอธิบายการเกิดขึ้นของปรากฎการณ์นั้น ๆ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือการวิจัยเพื่อตรวจสอบตัวแปร (Identified Variable) และการวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปร (Discovery of Reiationship Between Variables) ซึ่งการวิจัยเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน (Hypothesis Testing Study) เป็นการศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎี เพื่อที่จะนำไปใช้ในการทำนาย การวิจัยชนิดนี้มีทางตั้งสมมุติฐาน และตรวจสอบดูว่าสมมุติฐานที่ตั้งขึ้นว่าถูกต้องหรือไม่
4. แบ่งประเภทงานวิจัยตามชนิดของข้อมูล
ประเภทของงานวิจัยเมื่อพิจารณาจากชนิดของข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Research) เป็นการวิจัยที่หาความจริงจากข้อมูลปฐมภูมิ โดยมีการเก็บข้อมูล และใช้สถิติในการวิเคราะห์ และข้อมูลเชิงไม่ประจักษ์ (Nonempirical Research) เป็นการวิจัยที่หาความรู้ความจริงจากข้อมูลเอกสาร และวรรณกรรม ไม่การใช้สถิติมาวิเคราะห์
5. แบ่งประเภทงานวิจัยตามลักษณะการศึกษาตัวแปร
ประเภทของงานวิจัยเมื่อพิจารณาจากลักษณะการศึกษาตัวแปร แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เช่น การสำรวจทัศนคติ เพื่อหาข้อเท็จจริง การศึกษาวิจัยย้อนหลังในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว (Expost Factor Research) เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของตัวแปร จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อน ส่วนใหญ่ใช้ในการศึกษา เช่น การศึกษาว่าเด็กสอบตกเกิดจากเหตุใด หรือมีบุคลิกภาพต่างกันอย่างไร และการวิจัยเชิงทดลอง (Experimantal Research) เป็นการศึกษาตัวแปร โดยการควบคุม โดยมุ่งวิจัย และสังเกตผลที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์.
6. แบ่งประเภทงานวิจัยตามระเบียบการวิจัย
ประเภทของงานวิจัยเมื่อพิจารณาจากระเบียบการวิจัย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) เป็นการศึกษาหาข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องราวในอดีต เพื่อใช้ความรู้มาอธิบายเหตุการณ์ในปัจจุบัน และอนาคต การวิจัยเชิงพรรณนา (Description Research) เป็นการศึกษาเพื่อบรรยายปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการศึกษาตัวแปร เพื่อทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดผล
7. สรุปการจำแนกประเภทการวิจัย
การวิจัยทั้ง 6 ลักษณะนั้น เป็นวิธีที่ใช้กันอยู่ทั่วไป แต่ในประเภทที่ 6 นั้น เป็นระเบียบวิธีการที่มีการใช้อย่างแพร่หลายที่สุด ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ และการวิจัยเชิงพรรณนา ซึ่งใช้สำหรับการวิจัยเชิงทดลองนั้น ใช้มากในสาขาวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) การวิจัยประเภทนี้ประยุกต์มาจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อศึกษาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งจะนำไปสู่ผลสรุป และความเข้าใจในเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อการพยากรณ์ในอนาคต ซึ่งมีลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ได้แก่ เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมได้ เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่ เป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งปฐมภูมิ ใช้การวิเคราะห์ด้วยการวิจารณ์ข้อมูล ทั้งการวิจารณ์ภายใน และภายนอก
Pingback: แผนการทำวิทยานิพนธ์ - THESIS DD