รวมปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ ป.เอก

1. การตั้งชื่อ หรือหัวข้อการทำวิทยานิพนธ์ มีปัญหาคือ 1.1. อ่านชื่อเรื่องแล้วไม่เข้าใจว่านักศึกษาจะทำวิทยานิพนธ์อะไร มีข้อสงสัยอยากจะรู้อะไร ต้องการจะสร้างหรือพัฒนาสาขาอะไร เช่น ชื่อเรื่อง องค์กรการเรียนรู้ของ………การตั้งชื่อเรื่องอย่างนี้ไม่รู้ว่าผู้ทำวิทยานิพนธ์จะศึกษาอะไรขององค์กรการเรียนรู้เพราะไม่ระบุลักษณะหรือตัวแปรอยู่ข้างหน้าคำนาม ก็ไม่รู้ว่าจะวัดค่าอย่างไร กรณีการทำวิทยานิพนธ์เชิงบรรยายหรือเชิงสำรวจ การตั้งชื่อเรื่องต้องระบุตัวแปรไว้หน้าคำนาม เช่น สภาพการจัดองค์กรการเรียนรู้ของ…กรณีการทำวิทยานิพนธ์เชิงทดลองหรือพัฒนา การตั้งชื่อเรื่องต้องระบุสิ่งที่จะทดลองหรือสิ่งที่จะพัฒนาขึ้นมาในชื่อเรื่อง เช่น การสร้างชุดฝึกอบรมระบบออนไลน์สำหรับพัฒนาจริยธรรมของพนักงาน….กรณีมีตัวแปรการทำวิทยานิพนธ์หลายตัวแปรที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์ต้องการจะศึกษาหาความสัมพันธ์กัน 

 

ผู้ทำวิทยานิพนธ์ก็ควรจะหาคำหรือข้อความที่เป็นตัวแทนของตัวแปรเหล่านั้น ไม่ใช่ระบุชื่อตัวแปรทุกตัวในชื่อเรื่องซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องยาวหลายบรรทัดซึ่งไม่ดี 1.2. ชื่อเรื่องไม่ระบุประชากรในการทำวิทยานิพนธ์ ก็ทำให้ไม่รู้ว่าผู้ทำวิทยานิพนธ์จะศึกษาตัวแปรของประชากรใด หรือจะพัฒนาใคร 1.3. ถ้าเป็นการทำวิทยานิพนธ์ตัวแปรมากกว่า 1 ตัวแปรเพื่อหาความสัมพันธ์กันก็ควรเขียนบอกว่าจะศึกษาหาความสัมพันธ์กันอย่างไร เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษากับพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของคนไทย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในภาค และ 1.4. ถ้าชื่อเรื่องเป็นการทำวิทยานิพนธ์เชิงทดลองหรือพัฒนา ชื่อเรื่องก็ควรเขียนระบุวิธีการทดลองหรือวิธีการพัฒนาไปด้วย เช่น การสร้างชุดฝึกทักษะการขายตรงแบบอิเลคทรอนิคส์ให้กับพนักงานบริษัท….เทคนิคการอบรมแบบเพื่อนอบรมเพื่อนเป็นกลุ่มย่อยเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของพนักงาน

 

 

2. หลักการและเหตุผล หรือความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบ ได้แก่ 2.1. อ่านข้อความที่เขียนมาแล้วไม่ตอบคาถามที่ว่า ทำไมจึงทำทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ หรือการทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไร นักศึกษาจะเขียนร่ายยาวไปเรื่อยๆ หรือเขียนแบบกว้างๆ ไม่ลงข้อสรุปปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ เช่น มีนโยบายเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำทำวิทยานิพนธ์หรือไม่ เรื่องที่จะทำทำวิทยานิพนธ์ยังไม่มีใครทำ เป็นต้น 2.2. ขาดการสรุปในตอนท้ายของหัวข้อนี้ เช่น ควรเขียนว่า ผู้ทำวิทยานิพนธ์จึงมีความสนใจจะทำทำวิทยานิพนธ์เรื่อง….หรือบางคนสรุปตอนท้ายไม่ตรงกับชื่อเรื่อง 2.3. บางข้อความที่เขียนควรจะมีการอ้างอิงจากแหล่งที่มา เช่นข้อมูลหรือตัวเลขต่างๆไม่ใช่เขียนมาลอยๆซึ่งจะทำให้ขาดความเชื่อถือ เช่นเขียนขึ้นมาลอยๆว่า เด็กไทยไม่รักการอ่านหรือเด็กไทยชอบเล่นเกมส์ ข้อมูลลักษณะอย่างนี้น่าจะมีแหล่งที่มา

 

3. วัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบ ได้แก่ 3.1. เขียนเป็นประโยชน์ของการทำวิทยานิพนธ์ เช่น เพื่อใช้เป็นแนวทาง. เพื่อนำเสนอผู้บริหาร…เพื่อใช้เป็นข้อมูล..3.2. เขียนเป็นคาถาม โดยท้ายข้อความจะเขียนคาว่า เพียงใด อย่างไร หรือไม่ 3.3. เขียนชื่อตัวแปรไม่เหมือนในหัวข้อหรือชื่อเรื่อง 3.4. ข้อความที่เขียนไม่ระบุให้ชัดเจนว่าผลการทำวิทยานิพนธ์ที่ได้จะมีลักษณะอย่างไร และ 3.5. วัตถุประสงค์บางข้อเขียนไม่สอดคล้องกับชื่อเรื่องหรือหัวข้อทำวิทยานิพนธ์ เช่น ชื่อเรื่อง การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัด.” แต่ในวัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์เขียนแบบเปรียบเทียบกัน

 

4. สมมติฐานการทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบ ได้แก่ 4.1. สมมติฐานการทำวิทยานิพนธ์จะเขียนขึ้นมาลอยๆขาดการให้เหตุผลสนับสนุน ทั้งๆที่ได้ศึกษาวรรณกรรมไว้แล้วมากมายในบทที่ 2 4.2. จะตั้งสมมติฐานแบบไม่มีทิศทางกันมากทั้งๆที่ได้ศึกษาวรรณกรรมไว้แล้ว 4.3. เขียนสมมติฐานการทำวิทยานิพนธ์ไม่ชัดเจน อ่านแล้วไม่เข้าใจว่าผลการทำวิทยานิพนธ์จะออกมาเป็นแบบใด 4.4. วัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์บางข้อเป็นการทำวิทยานิพนธ์ตัวแปรเดียว ใช้วิธีการประมาณค่าไม่ต้องมีการทดสอบสมมติฐาน แต่นักศึกษาก็ยังจะเขียน

 

employee, desk, stress-6038877.jpg

 

5. ขอบเขตของการทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบ ได้แก่ 5.1. นักศึกษาจะเขียนละเอียดโดยเฉพาะหัวข้อประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งจะไปซ้ำซ้อนกับบทที่ 3 วิธีดำเนินการทำวิทยานิพนธ์ 5.2. ระบุตัวแปรไม่ถูกต้อง การทำวิทยานิพนธ์บางเรื่องไม่สามารถบอกได้ว่าตัวแปรไหนเป็นตัวแปรต้นหรือตัวแปรตาม 5.3. นักศึกษาบางคนเขียนเนื้อหาหรือทฤษฎีละเอียดมากไปในขอบเขตของการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะซ้ำซ้อนกับบทที่

 

6. คำนิยามศัพท์เฉพาะ ปัญหาที่พบ ได้แก่ 6.1. นิยามไม่ครบทุกตัวแปร 6.2. เอาคาอื่นๆที่ไม่ใช่ตัวแปรมานิยามมากเกินไป 6.3. นักศึกษาจะนิยามตัวแปรเองโดยไม่นำเอาความหมายมาจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในบทที่ 2 มานิยาม 6.4. นิยามที่เขียนจะเป็นนิยามเชิงทั่วไปเป็นส่วนมากแทนที่จะเขียนเป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ และ 6.5. นักศึกษาเขียนนิยามเชิงปฏิบัติการไม่เป็น 

 

7. ประโยชน์ที่ได้รับ ปัญหาที่พบ ได้แก่ 7.1. นักศึกษาจะเขียนล้อตามวัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์ทุกข้อ 7.2. ประโยชน์ที่เขียนไกลเกินกว่าที่ผลของการทำวิทยานิพนธ์จะนำไปใช้ได้ ซึ่งดูแล้วเลื่อนลอย 7.3. เขียนมากข้อ ซึ่งบางข้อก็ไม่สามารถนำผลการทำวิทยานิพนธ์ไปใช้ได้จริง

 

8. บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ปัญหาที่พบมีดังนี้ ได้แก่ 8.1. เขียนแบบตัดต่อมากเช่น ความหมายของการจัดการความรู้มีนักวิชาการได้ให้ความหมายดังนี้ 8.2. ไม่สรุปตอนท้ายหลังจากจบข้อความที่ลอกมาของแต่ละคน 8.3. ไม่เขียนแบบสรุปความหรือสังเคราะห์ความ เขียนแบบตัดแปะมากไป 8.4. ไม่เรียงลำดับปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. 8.5. ข้อความที่นำมาอ้างเก่ามาก  8.6. ข้อความที่นำมาอ้างอิงไม่ตรงกับตัวแปรที่ทำวิทยานิพนธ์ 8.7. การเขียนไม่โยงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม แต่จะเขียนแยกบรรยายตัวแปรแต่ละตัว 8.8. ใช้แหล่งข้อมูลทุติยภูมิมากเกินไป ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ จะเห็นได้จากตรงเชิงอรรถมีคาว่าอ้างอิงใน 8.9. กรณีภาษาต่างประเทศมาแปลเป็นภาษาไทยแล้วอ่านไม่เข้าใจหรืออ่านไม่รู้เรื่อง 8.10. บางเนื้อหาเช่น ระเบียบ กฏ หลักสูตรยกเอามาทั้งหมดแทนที่จะสรุปมา ส่วนรายละเอียดน่าจะเอาไว้ภาคผนวก 8.11. ข้อความต่างๆที่จะนำมาเขียนควรมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือก่อนว่าขัดแย้งกับของคนอื่นหรือไม่ 

 

ผู้เขียนเป็นที่ยอมรับในศาสตร์นั้นหรือไม่ 8.12. ควรใช้คาหรือข้อความที่นักวิชาการในศาสตร์นั้นๆยอมรับ 8.13. ใช้คาให้คงเส้นคงวา หรือเหมือนกันตลอดทั้งเล่ม โดยเฉพาะคาภาษาอังกฤษที่แปรเป็นภาษาไทยที่แปรไม่เหมือนก็ควรวงเล็บภาษาอังกฤษไว้ด้วย 8.14. เรื่องหรือข้อความที่นำมาเขียนไม่ควรจะขัดแย้งกัน ควรจะไปในทิศทางเดียวกัน 8.15. งานทำวิทยานิพนธ์ที่นำมาเขียนควรจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำจริงๆเช่น ตัวแปรเหมือนกันประชากรต่างกัน เนื้อหาวิชาต่างกัน 8.16. งานทำวิทยานิพนธ์ก็ควรเป็นระดับปริญญาเอกให้มากกว่าในระดับปริญญาโทหรือไม่มีเลยก็ยิ่งดี 8.17. ตรงหัวข้องานทำวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง ควรสรุปด้วยว่าได้ทำวิทยานิพนธ์ตัวแปรอะไรมาบ้างแล้ว หรือทำวิทยานิพนธ์ในลักษณะอย่างไรบ้าง ยังขาดอะไร และที่กาลัง จะทำทำวิทยานิพนธ์อยู่นี้ไม่เหมือนคนอื่นที่ทำตรงไหนบ้างหรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และ 8.18. ตอนสุดท้ายของบทที่ 2 อาจจะใส่กรอบแนวคิดในการทำวิทยานิพนธ์ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการทำวิทยานิพนธ์ที่เรากาลังจะทำ หรือขั้นตอนในการทดลอง

 

9. วิธีดำเนินการทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบมีดังนี้ ได้แก่ 9.1. ประชากร เขียนบรรยายไม่ละเอียดพอหรือเขียนไม่ชัดเจนว่าเป็นใคร เพศ อายุ ที่อยู่ อาชีพ เป็นต้น ทั้งๆที่มีข้อมูลอยู่ในแบบสอบถาม 9.2. กลุ่มตัวอย่าง บรรยายขั้นตอนการสุ่มไม่ละเอียด หรือไม่ชัดเจนเช่น การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างไม่บอกที่มาว่ากำหนดมาอย่างไร ใช้สูตรกำหนดขนำดกลุ่มตัวอย่างผิด เขียนบอกว่าใช้เทคนิคการสุ่มแบบนี้ แต่อธิบายขั้นตอนการสุ่มไม่ถูกต้องตามเทคนิคที่บอก อธิบายขั้นตอนการสุ่มไม่ครบเช่น บอกว่าใช้เทคนิคการสุ่มแบบเชิงช่วงชั้นแต่ขั้นตอนสุดท้ายไม่บอกว่าแต่ละชั้นสุ่มอย่างไร การทำวิทยานิพนธ์ที่ใช้ประชากรขนาดใหญ่ หรือพื้นที่กว้างมากแต่บอกว่าใช้เทคนิคการสุ่มอย่างง่ายซึ่งเป็นไปไม่ได้ 9.3. กรณีการทำวิทยานิพนธ์เชิงทดลอง ผู้ทำวิทยานิพนธ์ไม่อธิบายว่าทดลองอย่างไร กลุ่มทดลองทำอย่างไร กลุ่มควบคุมทำอย่างไร บางคนเขียนแผนภาพการทดลองแต่ไม่อธิบายสัญลักษณ์ต่างๆในภาพว่าแต่ละตัวคืออะไร 9.4. การใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลไม่บรรยายส่วนประกอบของแบบสอบก่อนว่ามีกี่ตอนอะไรบ้างอยู่ๆก็บรรยายขั้นตอนการสร้างเลย 9.5. บรรยายขั้นตอนการสร้างไม่ละเอียด ควรระบุเป็นข้อๆให้ชัดเจน 9.6. ไม่ระบุในขั้นตอนการสร้างว่าสร้างให้สอดคล้องกับคำนิยามศัพท์เฉพาะซึ่งเป็นหลักการของการสร้างเครื่องมือทำวิทยานิพนธ์ที่สำคัญ 

 

9.7. ไม่ระบุการหาคุณภาพรายข้อว่าหาอย่างไรบ้างเช่น ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนก บอกเฉพาะค่าความเชื่อมั่นอย่างเดียว 9.8. การใช้แบบสอบถามปลายเปิดก็ต้องบรรยายขั้นตอนการสร้างที่ยืนยันว่ามีคุณภาพเช่น ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ อาจจะหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 9.9. ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงร่างในการเก็บข้อมูลผู้ทำวิทยานิพนธ์บรรยายขั้นตอนการสร้างแบบสัมภาษณ์ไม่ละเอียดว่าสร้างอย่างไร จึงเป็นที่เชื่อถือว่ามีคุณภาพเช่น ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 9.10. กรณีใช้ผู้สัมภาษณ์หลายคน ไม่บรรยายว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้การสัมภาษณ์เป็นไปในแนวทางเดียวกันเช่น สร้างคู่มือการสัมภาษณ์ อบรมเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน 9.11. การเก็บรวบรวมข้อมูลก็ต้องบรรยายขั้นตอนการเก็บให้ละเอียด โดยเฉพาะการสัมภาษณ์ การสังเกตหรือเก็บข้อมูลจากร่องรอยหลักฐาน ว่าได้ใช้อุปกรณ์อะไรบ้างมาใช้ทำอะไรเช่น เทปบันทึกเสียง กล่องวีดีโอ เป็นต้น 9.12. การวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาที่พบมีดังนี้  การทำวิทยานิพนธ์เชิงปริมาณจะใช้วิธีการทางสถิติผิดซึ่งจะพบมาก บางคนบอกวิธีการถูกแต่เขียนสูตรสถิติผิด ไม่ตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นของวิธีการทางสถิติที่จะนำมาใช้ก่อน วิธีการทางสถิติบางวิธีควรจะศึกษาหรือทบทวนและเขียนไว้ในบทที่ 2 ด้วย เพื่อให้ผู้ทำวิทยานิพนธ์มีความเข้าใจมากขึ้น

 

10. การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ถ้าเป็นการทำวิทยานิพนธ์เชิงปริมาณในบทนี้จะประกอบด้วยตารางแสดงค่าสถิติต่างๆ มากปัญหาที่พบมีดังนี้ ได้แก่ 10.1. ไม่จัดตอนในการนำเสนอตารางให้สะดวกในการอ่าน 10.2.ไม่จัดเรียงตารางตามวัตถุประสงค์การทำวิทยานิพนธ์ 10.3. การเขียนหัวตารางไม่ชัดเจนว่าจะนำเสนอค่าสถิติอะไรบ้าง ของตัวแปรการทำวิทยานิพนธ์ 10.4. ระบุชื่อตัวแปรหลังวิธีการทางสถิติไม่ชัดเจนว่ามีตัวแปรอะไรบ้าง 10.5. กำหนดสัญลักษณ์ของสูตรสถิติในตารางไม่เหมาะสม 10.6. การแปลผลตารางที่แสดงค่าเฉลี่ย ผู้ทำวิทยานิพนธ์จะแปลความหมายทุกค่าเฉลี่ยซึ่งไม่น่าอ่าน ควรจะแปลเฉพาะค่าเฉลี่ยมากอันดับต้นๆ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 10.7. การเสนอตารางผลการทดสอบสมมุติฐานการทำวิทยานิพนธ์ต้องระบุนัยสำคัญทางสถิติ ( α ) ที่ระดับใดระดับหนึ่ง (.05หรือ.01) ไม่ใช่ 2 ระดับ 

 

10.8. ถ้าผลการทดสอบมีนัยสำคัญทางสถิติให้ใส่เครื่องหมาย * กรณีใช้ α เท่ากับ .05 และ ** กรณีใช้ α .01 ค่าใดค่าหนึ่งตรงค่าสถิติที่ใช้ทดสอบ 10.9. ถ้าผลการทดสอบไม่มีนัยสำคัญทางสถิติก็ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย * แต่ท้ายตารางจะแปลผลใส่ค่านัยสำคัญทางสถิติลงไปด้วยที่ระดับใดระดับหนึ่ง 10.10. การแปลผลตารางทดสอบสมมุติฐานการทำวิทยานิพนธ์จะแปลผลที่ α ระดับเดียวกันตลอดทั้งเรื่อง จะไม่แปลผลที่ α 2 ระดับ 10.11. การแปลผลท้ายตารางจะแปลตามข้อมูลที่ปรากฏเท่านั้นจะไม่ใส่ความคิดเห็นลงไปด้วย 10.12. ตอนท้ายของการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ อาจจะมีการเสนอผลการทำวิทยานิพนธ์เชิงคุณภาพซึ่งได้จากแบบสอบถามปลายเปิด จะสรุปรวมเป็นข้อๆและมีค่าความถี่หรือร้อยละ แปลผลเฉพาะข้อความที่มีความถี่สูงๆประมาณ 3-4 ข้อ จะไม่แปลผลทุกข้อ 10.13.การแปลผลท้ายตารางทดสอบสมมติฐานควรใช้สำนวนหรือข้อความเหมือนกันตลอดทั้งเล่ม เช่นแตกกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

11. การเขียนหัวข้อสรุปผล อภิปลายผลและข้อเสนอแนะ ได้แก่ 11.1.สรุปผลการทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบมีดังนี้ ไม่สรุปปัญหา และวิธีดำเนินการก่อน บางคนก็สรุปปัญหา และ วิธีดำเนินการยาวมากเกินไป สรุปข้อมูลสถานภาพผู้ตอบแบบสอบไว้ในหัวข้อสรุปผลการทำวิทยานิพนธ์ สรุปผลการทำวิทยานิพนธ์ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์ สรุปผลการทำวิทยานิพนธ์ยาวมากเกินไป ไม่น่าอ่าน 11.2.อภิปรายผล ปัญหาที่พบมีดังนี้ เขียนสรุปผลซ้ำอีกยืดยาว ให้เหตุผลน้อยมาก ให้เหตุผลไม่ตรงกับตัวแปรการทำวิทยานิพนธ์ ให้เหตุผลไม่สอดคล้องกับผลการทำวิทยานิพนธ์ เหตุผลมีเฉพาะความคิดเห็นของผู้ทำวิทยานิพนธ์เป็นส่วนใหญ่ มีแนวคิด ทฤษฎีน้อย มาก หรือบางคนไม่มีเลย  ให้เหตุผลเฉพาะตัวแปรหรือปัจจัยอย่างเดียว ด้านย่อยๆของตัวแปรไม่ต้อง 

 

11.3.ข้อเสนอแนะ ปัญหาที่พบมีดังนี้ เขียนเสนอแนะการนำไปใช้ไม่ สมเหตุสมผล นำไปใช้ไม่ได้จริง เสนอแนะไม่ชัดเจน อ่านไม่เข้าใจ ควรเสนอประเด็นที่พบจากการทำวิทยานิพนธ์ กรณีพบว่าตัวแปรใดมีอิทธิพลต่อตัว แปรตาม ควรเสนอแนะว่าจะนำไป พัฒนาอะไรได้บ้าง กรณีพบว่าตัวแปรใดดีอยู่แล้ว ควรเสนอแนะว่าจะทำอย่างไรให้ดียิ่งขึ้นหรือ คงสภาพเดิมไว้อย่างไร ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิทยานิพนธ์ไม่เขียนให้ ชัดเจนว่าควรทำทำวิทยานิพนธ์เรื่องอะไรบ้างต่อ จากการทำวิทยานิพนธ์ของเรา บางคนเขียนว่าควรเพิ่มตัวแปร…ลงไปใน การทำทำวิทยานิพนธ์ครั้งต่อไป เขียนแบบนี้ไม่ดี บางคนก็เขียนว่าควรจะควบคุมตัวแปร เกินอย่างนั้นอย่างนี้ แบบนี้ก็ไม่ควรเขียน กรณีการทำวิทยานิพนธ์เชิงทดลองบางคนก็ เสนอแนะว่าควรจะทดลองแบบนั้นแบบนี้ น่าจะดีกว่าอย่างนี้ก็ไม่ต้องเขียน

 

12. ภาคผนวก ปัญหาที่พบมีดังนี้ ได้แก่ 12.1. เอกสารที่ควรใส่กลับไม่ใส่ลงไป ภาคผนวกเช่น เครื่องมือทำวิทยานิพนธ์ สิ่งที่ สร้างขึ้นมาใช้ในการทดลอง คุณภาพ ของเครื่องมือทำวิทยานิพนธ์รายข้อ เป็นต้น 12.2. สูตรทางสถิติบางอย่างไม่ต้องใส่ 12.3. ผลการประมวลผลด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์ไม่ต้องใส่ลงไป 12.4. ข้อมูลรายบุคคลไม่ต้องใส่ลงไป

 

13. บรรณานุกรม ปัญหาที่พบมีดังนี้ ได้แก่ 13.1. เขียนโดยไม่ยึดรูปแบบของมหาวิทยาลัย 13.2. เขียนรูปแบบแตกต่างกันทั้งๆที่อยู่ใน เล่มเดียวกัน 13.3. รายชื่อในบรรณานุกรมไม่ตรงกับในภาคผนวก 13.4. ไม่เรียงลำดับตัวอักษร 

ที่มา : รศ.ดร.บุญมี พันธุ์ไทย

 

 ำ