1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การเขียนวิทยานิพนธ์โดยแสดงให้เห็นถึงภาพรวม ความสําคัญของเรื่อง ว่าทําไมถึงต้องการศึกษาปัญหาดังกล่าว สามารถนําข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาแสดง ใส่สถิติคํากล่าวของนักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญได้เขียนบทความในประเด็นนั้นไว้ หรือข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าว โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจนนําเสนอความสําคัญของประเด็นปัญหาวิจัย เชื่อมโยงกับสถานการณ์โลก สถานการณ์ของประเด็นวิจัยปัจจุบัน ความก้าวหน้า ของวิทยาการต่างๆ เขียนเข้าสู่ประเด็นปัญหา อธิบายสภาพที่คาดหวัง (มาตรฐานคุณภาพ ประสิทธิภาพ) กับสภาพที่เป็นจริงมีการวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ของปัญหาในบริบทของผู้วิจัยองค์ความรู้ที่ผ่านมา (Previous Research) ต่อประเด็นปัญหาวิจัย(คําตอบที่ผานมาแนวทางการหาคําตอบ วิธีการวิจัย วิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย สรุปประเด็นที่จะวิจัย และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการทําวิจัยสําเร็จโดยไม่ต้องให้เสียงเงินให้ร้านรับจ้างทำวิจัย
2. คําถามวิจัย
การเขียนวิทยานิพนธ์ด้านคําถามของการวิจัยเป็นสิ่งสําคัญ ที่ผู้วิจัยต้องกําหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้นอย่างชัดเจนเพราะปัญหาที่ชัดเจนจะช่วยให้ผู้วิจัยกําหนดวัตถุประสงค์ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สําคัญๆ ตลอดจนการวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ถ้าผู้วิจัยตั้งคําถามที่ไม่ชัดเจนสะท้อนให้เห็นว่าแม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจว่าจะศึกษาอะไรทําให้การวางแผนในขั้นต่อไปเกิดความสับสนได้คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant)หรือสัมพันธ์กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคําถามที่สําคัญที่สุดซึ่งผู้วิจัยต้องการคําตอบมากที่สุดเพื่อคําถามเดียวเรียกว่ําคําถามหลัก (primary research question) ซึ่งคําถามหลักนี้จะนํามาใช้เป็นข้อมูลในการคํานวณขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัยอาจกําหนดให้มีคําถามรอง (secondary research question) อีกจํานวนหนึ่งก็ได้ซึ่งคําถามรองนี้เป็นคําถามที่เราต้องการคําตอบเช่นเดียวกันแต่มีความสําคัญรองลงมาโดยผู้วิจัยต้องระลึกว่าผลของการวิจัยอาจไม่สามารถตอบคําถามรองนี้ได้ทั้งนี้ เพราะการคํานวณขนาดตัวอย่างไม่ได้คํานวณเพื่อตอบคําถามรองเหล่านี้ได้รวบรวม และกล่าวถึงคําถามของการวิจัยไว้ว่าคําถามวิจัยคือข้อความที่เป็นประโยคคําถามซึ่งแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นคว้าหาคําตอบทั้งนี้คําถามการวิจัยควรเป็นคําถามที่ยังไม่มีคําตอบหรือไม่สามารถหาคําตอบได้จากตําราหรือความรู้เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การเขียนวิทยานิพนธ์ต้องเขียนประเด็นของปัญหาให้ชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร ในแง่มุมใด และเรื่องที่ศึกษาต้องอยู่ในกรอบของหัวเรื่องที่รอง รับทําวิทยานิพนธ์ วัตถุประสงค์ที่เขียนต้องสามารถศึกษาได้ กระทําได้ หรือเก็บข้อมูลได้ทั้งหมดต้องเขียนวัตถุประสงค์ในลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ใช้ภาษาที่ง่ายวัตถุประสงค์สามารถเขียนในรูปประโยคบอกเล่า หรือประโยคคําถามก็ได้วัตถุประสงค์สามารถเขียนในรูปของการเปรียบเทียบ เพื่อเน้นความแตกต่าง หรือเขียนในรูปของความสัมพันธ์วัตถุประสงค์สามารถเขียนรวมเป็นข้อเดียว หรืออาจเขียนแยกเป็นข้อๆ ก็ได้จํานวนวัตถุประสงค์มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับของเขตของในการรอง รับทำวิจัย ว่าต้องการศึกษาแค่ไหนการเรียงหัวข้อวัตถุประสงค์ สามารถเรียงได้หลายลักษณะ เช่น เรียงตามความสําคัญของประเด็นปัญหาวิจัยลดหลั่นลงมา หรืออาจเรียงตามลักษณะระดับปัญหาใหญ่และปัญหารองลงมา หรืออาจเรียงวัตถุประสงค์ตามความสอดคล้องของเนื้อหา หรืออาจเรียงวัตถุประสงค์ตามลําดับการเกิดก่อน เกิดหลังของแต่ละปัญหาได้อย่านําประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมาเขียนไว้ในวัตถุประสงค์การวิจัย เพราะวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นเรื่องที่ต้องทํา แต่ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดการวิจัยแล้ว ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับไม่ได้เป็นเรื่องบังคับให้ผู้วิจัยต้องทําเหมือนวัตถุประสงค์ และเมื่อทําวิจัยเสร็จแล้วผลที่คาดหวังไว้อาจจะเป็นไปตามที่คาดหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์ คือ “1. เพื่อศึกษา…..” ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับก็ไม่ควรเขียนล้อเลียนในลักษณะ “1. เพื่อทราบ…” เพราะการศึกษาเรื่องใดก็ย่อมจะทราบเรื่องนั้นอยู่แล้ว ควรเขียนในทำนองว่า เมื่อทราบผลแล้วจะนำผลไปใช้ประโยชน์อะไร

4. สมมติฐานของการวิจัย
การเขียนวิทยานิพนธ์ต้องตั้งสมมติฐานการวิจัยนั้น อาจจะเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับผู้ที่เริ่มทำวิจัย เพราะไม่รู้ว่าสมมติฐานที่ตั้งเหมาะสมกับปัญหาการวิจัย และมีความชัดเจนหรือไม่ จึงมีข้อเสนอที่เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาการตั้งสมมติฐานการวิจัยเป็นการคาดคะเนคําตอบสรุปผลของการวิจัยที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุมีผลเพื่อตอบประเด็นปัญหาของการวิจัยที่กําหนดไว้ เป็นข้อสันนิษฐานที่อาจเป็นจริง โดยมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าเป็นไปได้จริง แต่อาจจะไม่เป็นจริงก็ได้ สมมติฐานมีจุดมุงหมายเพื่อใช้ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ตัวขึ้นไป ตลอดจนเป็นทิศทางการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร หรือตั้งสมติฐานจากกรอบการวิจัยก็ได้ ตัวอย่างการตั้งสมมุติฐาน ข้อมูลทั่วไป/ลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน (อยู่กรอบซ้าย ตัวแปรต้น) มีการตัดสินใจ/พึงพอใจ/ประสิทธิภาพแตกต่างกัน (ตัวแปรตาม) เพื่อหาความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน เช่นเดียวกันมีตัวแปรไหนอยู่กรอบซ้ายหรือตัวแปรต้น เราก็ใช้หลักการเดียวกัน ตัวอย่าง 4p’s จะตั้งว่า ส่วนประสมทางการตลาดบริการ ตรงนี้จะหาความสัมพันธ์หรืออิทธิพลที่ส่งผล) มีอิทธิพล/ส่งผล ต่อการตัดสินใจ/พึงพอใจ/ประสิทธิภาพของ….อะไร โดยการทดสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้นต้องสามารถทดสอบได้ภายในเวลาที่เหมาะสม มีความเกี่ยวข้องกับปัญหา สมมติฐานที่ตั้งขึ้นจะต้องมีความเกี่ยวข้องและมีความเป็นไปได้กับปัญหาและวัตถุประสงค์ที่ทำวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ในการศึกษาตัวแปรหลายๆตัว สมมติฐานที่ตั้งขึ้นควรแสดงความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปร หรือมีการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม จะทำให้ได้ผลการวิจัยที่ให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์มากขึ้น และทฤษฎีและงานวิจัยสนับสนุน สมมติฐานที่ตั้งขึ้นควรมีเหตุผลเพียงพอและเป็นไปตามหลักเหตุผล ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5. หลักการเขียนสมมติฐานการวิจัย
การเขียนวิทยานิพนธ์ควรเขียนสมมติฐานหลังจากที่ได้อ่านตำรา เอกสารที่เกี่ยวข้องสมบูรณ์แล้ว เพื่อนำมาเป็นข้อมูลสนับสนุนการตั้งสมมติฐาน และเป็นแนวทางสำหรับการตั้งสมมติฐานการวิจัย หรือเขียนในรูปของประโยคบอกเล่าดีกว่าประโยคคำถาม ควรมีคำที่แสดงความคาดหวังในประโยคบอกเล่า เช่น น่าจะ เพราะสมมติฐานยังไม่เป็นความจริง ยังต้องรอการพิสูจน์จากงานวิจัยเสียก่อน และสมมติฐานที่เขียนขึ้นอาจมีทิศทางหรือไม่มีทิศทางก็ได้ขึ้นอยู่กับการทบทวนเอกสาร ตัวอย่างการตั้งสมมติฐานแบบมีทิศทาง เช่น ความนิยมในการเรียนกวดวิชาของนักเรียนชายมีมากกว่านักเรียนหญิง หรือนักเรียนที่มีบิดามารดามีความคาดหวังในตัวบุตรสูงน่าจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีบิดามารดามีความคาดหวังในตัวบุตรสูง ตัวอย่างการตั้งสมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง เช่น ความนิยมในการเรียนกวดวิชาของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงน่าจะมีความแตกต่างกัน หรือความคาดหวังของบิดามารดามีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบุตร และควรเขียนสมมติฐานไว้หลายๆสมมติฐาน โดยพิจารณากลุ่มย่อยตามรายละเอียดของตัวแปร เพราะจะทำให้ได้คำตอบที่ชัดเจนขึ้น
6. ขอบเขตการวิจัย
การเขียนวิทยานิพนธ์ด้านการกำหนดประชากร (Populations) ประชากรเป้าหมายหรือผู้ให้ข้อมูลหลัก หมายถึง บุคคลที่มีคุณสมบัติสำคัญที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้ให้ข้อมูล โดยมากจะใช้ในงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ต้องการผู้ให้ข้อมูลหลักสำคัญ โดยบุคคลนี้มักจะเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสูงกับประเด็นข้อมูลที่นักวิจัยต้องการทราบ ส่วนตัวแปรของงานวิจัย (Variables) ตัวแปรต้น (Independent Variables) ตัวแปรตาม (Dependent Variables) อาณาเขตบริเวณเรื่องเนื้อหาสาระทางวิชาการ ในตำราเรียนของศาสตร์ใดๆ สำหรับด้านพื้นที่วิจัย การกำหนดอาณาเขตบริเวณตามลักษณะภูมิภาค ได้แก่ ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด กลุ่มจังหวัด ภาค ประเทศ ภูมิภาค ทวีป กลุ่มประเทศ โลก จักรวาล ฯลฯ เพื่อจะสื่อให้ทราบว่าสิ่งต่างๆในกระบวนการวิจัยตลอดจนถึงผลการวิจัยหมายถึงเฉพาะในพื้นที่นั้นนั้นนะ ไม่ได้หมายถึงพื้นที่อื่น ซึ่งในพื้นที่อื่นอาจจะมีความหมายหรือผลการวิจัยเป็นอย่างอื่นก็ได้ งานวิจัยจึงต้องมีการกำหนดขอบเขตด้านพื้นที่การวิจัยเอาไว้ให้ชัดเจน และระยะเวลา การระบุช่วงระยะเวลาของการดำเนินการวิจัยซึ่งจะสื่อให้ทราบว่า คำตอบหรือผลการวิจัยที่ปรากฏในงานวิจัยเรื่องนั้นหมายถึงคำตอบเฉพาะห้วงเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น โดยหากห้วงเวลาเปลี่ยนแปลงไปคำตอบอาจจะเปลี่ยนแปลงไปก็ได้ นอกจากนั้นการกำหนดห้วงเวลาจึงมักจะหมายถึงห้วงเวลาที่นักวิจัยลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลเพราะคำตอบของแหล่งมูลวิจัยถูกถ่ายทอดให้นักวิจัยในห้วงเวลานั้นๆ ไม่ได้หมายถึงห้วงเวลาตั้งแต่เขียนเค้าโครงวิจัยจนถึงเขียนรายงานการวิจัยแนวทางการเขียนก่อนที่จะทำความเข้าใจการกำหนดขอบเขตการวิจัย จำเป็นต้องพิจารณาว่าวงรอบของการวิจัยที่นักวิจัยกำลังจะดำเนินการมีกี่ระยะ เช่น ระยะการสำรวจ ระยะการสร้างวิธีการพัฒนา ระยะปฏิบัติการพัฒนาและติดตามผลและระยะการประเมินผล
7. นิยามศัพท์เฉพาะ
การเขียนวิทยานิพนธ์โดยการให้ความหมายคำเฉพาะที่ใช้ในการวิจัย เพื่อให้ผู้วิจัยและเข้าใจความหมายคำตรงกัน คำนิยามต้องคำนึงถึงการนิยามตัวแปร เพราะจะช่วยให้การเก็บข้อมูลได้ถูกต้องและน่าเชื่อถือ นิยามศัพท์มี 2 ประเภท คือนิยามเชิงความหมายเป็นนิยามศัพท์นั้น ๆ โดยอธิบายความหมายและนิยามเชิงปฏิบัติการเป็นการให้ความหมายของคำ โดยกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้หรือเครื่องมือชี้วัดบางอย่าง เช่น สติปัญญา หมายถึง ความจำทางสมองที่จะคิดให้เหตุผลและแก้ปัญหาต่าง ๆ (นิยามเชิงความหมาย) และสติปัญญาซึ่งคะแนนที่ได้จากการวัดด้วยแบบทดสอบมาตรฐานสำหรับวัดสติปัญญา (นิยามเชิงปฏิบัติ) ในการให้คำนิยามนั้นควรให้ทั้งนิยามความหมายและนิยามปฏิบัติการผสมผสานกันไปในทางเดียวกันหลักการเขียนนิยามคำศัพท์ คือ ต้องเป็นคำศัพท์เฉพาะ ไม่ต้องให้คำนิยามศัพท์ทุกคำศัพท์ที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกัน และถ้าทีการอ้างอิงแหล่งที่มาด้วย ก็จะทำให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น หลักการเขียนนิยามศัพท์เฉพาะ การให้นิยามศัพท์เฉพาะเป็นการให้ความหมายของคำที่มีความสำคัญในการวิจัยเรื่องนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำที่เป็นตัวแปรตามที่เป็นนามธรรม เช่น ตัวแปร แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เชาว์ปัญญาทางอารมณ์ ความพึงพอใจในการบริการ เจตคติต่อสินค้า เป็นต้น ซึ่งจะต้องนิยามโดยอาศัยทฤษฎี หลักการ แนวคิดจากผู้รู้ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งจะต้องนิยามให้อยู่ในรูปของนิยามปฏิบัติการ จึงจะสามารถสร้างเครื่องมือวิจัยที่มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงนิยามปฏิบัติการ (Operational Definition) เรียกสั้น ๆ ว่า O.D. คือ การให้ความหมายตัวแปรที่สำคัญ โดยเฉพาะตัวแปรตาม (Dependent Variable) ที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรอิสระที่มีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งจะต้องนิยามให้เป็นคุณลักษณะพฤติกรรม และหรือกิจกรรมที่จะศึกษา ให้อยู่ในรูปที่วัดได้ สังเกตได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีความเที่ยงตรง (Validity)
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Outcome) การทำวิจัยทุกเรื่อง ผู้ทำวิจัยจะต้องทราบว่าเมื่อทำเสร็จแล้วผลการวิจัยจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ของการวิจัยมีได้หลายลักษณะ เช่น การนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดนโยบาย ปรับปรุงการปฏิบัติงาน ใช้เป็นแนวทางการตัดสินใจ ใช้ในการแก้ปัญหา หรือทำวิจัยต่อไป เป็นต้น ซึ่งประโยชน์จึงเป็นการอธิบายถึงประโยชน์ของงานวิจัยนี้ โดยอาศัยความสำคัญของเรื่อง ควรพยายามให้เห็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ ประชากร ฯลฯ โดยการเขียนประโยชน์ของงานวิจัยควรเขียนเป็นข้อ ๆ เพื่อระบุถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ จะต้องเขียนด้วยภาษาที่อ่านง่ายและพยายามโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นประโยชน์ของงานวิจัยให้มากที่สุด ตามการเขียนแนวทางการเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้ เช่น ต้องเขียนประโยชน์ที่ได้รับโดยตรงมากที่สุด ไปหาประโยชน์น้อยที่สุดจากการวิจัย ไม่ขยายความเกินความเป็นจริง ต้องอยู่ในขอบเขตของวัตถุประสงค์ที่ศึกษาเท่านั้น ควรเขียนให้ครอบคลุมทั้งผลในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งผลทางตรงและทางอ้อม ซึ่งควรระบุในรายละเอียดว่าผลดังกล่าวจะตกกับใครเป็นสำคัญ และไม่ควรเขียนในลักษณะที่ล้อจากวัตถประสงค์
9. สรุป
หากท่านติดปัญหาการเขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1 (บทนำ) หรือปัญหาจากการทำวิทยานิพนธ์ มีความจำเป็นต้องใช้บริการที่ปรึกษารับทำวิจัยที่เชื่อถือได้ ปลอดภัย ไม่โกง คุณภาพงานสูง ดูแลท่านจนจบ เป็นต้น ให้เรา thesis dd ดูแลท่าน ด้วยทีมงาน ดร. หลากหลายสาขา ทั้งระดับ ป.ตรี ป.โท และ ป.เอก

Pingback: EGO ทำวิทยานิพนธ์เอก-โท ไม่จบ - THESIS DD
Pingback: ทำวิจัยกับแรงบันดาลใจ - THESIS DD
Pingback: สอบ Defense QE - THESIS DD
Pingback: การวิจัย คืออะไร ตามแนวคิดนักวิชาการ - THESIS DD - by Dr.Kwang
Pingback: วิธีการแบ่ง ประเภทงานวิจัย - THESIS DD - by Dr.Kwang
Pingback: ทักษะสำคัญในการทำงานวิจัย - THESIS DD - by Dr.Kwang