การตั้งชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ หรือตั้งชื่อเรื่องงานวิจัย มีรายละเอียดและส่วนประกอบรวมถึงเทคนิคการตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยอีกทัศนะตามมุมมอง ก่อนไปสู่กระบวนการตั้งชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์หลายท่านคงทราบกันดีว่า การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยจะต้องไม่ซ้ำหรือเหมือนกัน นั้นหมายถึงว่าวิทยานิพนธ์ของท่านจะมีเล่มเดียวในโลก ดังนั้นท่านจะแสดงความเป็นปัจเจกผ่านชื่อเรื่องงานวิจัย (Research) วิทยานิพนธ์ (Thesis) ค้นคว้าอิสระ (is) ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) หรือการวิจัยรูปแบบอื่น จึงต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าปัญหาในงานวิจัยของท่านคืออะไร ปัญหาที่นำมาเป็นหัวข้อการวิจัยควรอยู่ในความสนใจของผู้วิจัยและเป็นปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม จึงจำเป็นต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย บ่งบอกครอบคลุมถึงวิธีการดำเนินงาน ตัวแปร ลักษณะของสิ่งที่จะศึกษาในงานวิจัยตามมาตรฐานการวิจัยของมหาวิทยาลัย
ชื่องานวิจัย ต้องตรงกับปัญหาการวิจัย
การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยต้องตรงกับปัญหาการวิจัย มีความชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษา สามารถสื่อสารทำให้เข้าใจความหมายได้ทันที โดยไม่ต้องตีความ เป็นสิ่งที่จะบอกให้คนบนโลกนี้รู้ว่าเราทำอะไร (ตัวแปร) กับใคร (กลุ่มตัวอย่าง) ที่ไหน (สถานที่) อย่างไร (วิธีดำเนินการ) เมื่อไร (เวลา) ชื่อวิทยานิพนธ์หรือ is ไม่ควรยาวเกินไป และชื่อเรื่องงานวิจัยควรขึ้นต้นด้วยคำนาม และตรงกับประเด็นของปัญหาการวิจัย คือการตั้งชื่อเรื่องที่ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ที่ศึกษางานวิจัยทราบว่างานวิจัยของท่าน มีเนื้อหาโดยรวมในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องอะไร มีเป็นประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอะไร สามารถสื่อความหมายได้ตรงกับประเด็นของปัญหาได้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม
ชื่องานวิจัย ต้องกระชับ และถูกต้อง
การใช้ประโยคสั้น กระชับ คือการใช้คำที่เฉพาะเจาะจง สื่อความหมายตรงไปตรงมา เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัดถูกต้องตามหลักภาษาหรือหลักไวยกรณ์ ไม่ควรสั้นเกินไปหรือยาวเกินไป ซับซ้อนอันเกิดจากการใช้คำเชื่อมมากไป จนทำให้ขาดความหมายหรือไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ส่งผลให้อ่านแล้วเข้าใจยาก
ชื่องานวิจัย ต้องบ่งบอกประเภทของการวิจัย
การตั้งชื่องานวิจัย ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจขอบเขตการวิจัยแต่ละแบบง่ายขึ้น เช่น
- การวิจัยเชิงสำรวจ เป็นการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงที่ปรากฏการมีอยู่จากการตั้งชื่อเรื่องที่มีอยู่นั้น เปรียบเทียบกับสถานภาพที่ปรากฏอยู่ในลักษณะต่าง ๆ และเปรียบเทียบกับสถานภาพที่เป็นมาตรฐาน โดยไม่สนใจว่าทำไมจึงปรากฏอยู่หรือมีอยู่อย่างนั้น ซึ่งการวิจัยเชิงสำรวจหากแบ่งตามลักษณะสิ่งที่ใช้สำรวจได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ การสำรวจโรงเรียน การวิเคราะห์งาน การวิเคราะห์เอกสาร การสำรวจประชามติ การสำรวจชุมชน หรือมักศึกษาในขอบเขตกว้างเกี่ยวกับเรื่องราว 4 ประการ ได้แก่ ลักษณะทางประชากร สถานภาพทางสังคม-เศรษฐกิจ พฤติกรรมและกิจกรรมของประชาชน และความคิดเห็น เจตคติ และความเชื่อของประชาชน
- การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ หรือการวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุเป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ของผลที่เกิดขึ้นโดยทั้งเหตุและผลได้เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้ว ผู้วิจัยศึกษาย้อนหลังถึงผลที่เป็นไปได้ของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม ผู้วิจัยไม่สามารถจัดกระทำ หรือควบคุมตัวแปรหรือสิ่งที่คิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุได้ การวิจัยประเภทนี้จึงมิได้เป็นการพิสูจน์ถึงความเป็นสาเหตุ แต่สืบย้อนไปถึงสิ่งที่น่าจะเป็นสาเหตุ
- การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน เพราะในปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ อาจมีเหตุการณ์มากกว่าหนึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นและมีความสัมพันธ์กันด้วย ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถทำนายการเกิดของเหตุการณ์หนึ่งได้ถ้าทราบความแปรผันของอีกเหตุการณ์หนึ่ง การทำนายจะแม่นยำเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับค่าของผลการวิเคราะห์ทางสถิติ ซึ่งการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์มีหลายแบบและแต่ละแบบต่างก็มีความมุ่งหมายและวิธีการแตกต่างกัน ดังนั้นจึงจะขอกล่าวถึงรายละเอียดของการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์แบบต่าง ๆ
- การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ เป็นการศึกษาที่มุ่งทราบลักษณะการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ เมื่อเวลาล่วงเลยไปในช่วงเวลาหนึ่ง การวิจัยแบบศึกษาพัฒนาการแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ 1) การศึกษาความเจริญงอกงาม (Growth studies) เป็นการตั้งชื่อเรื่องเพื่อที่ผู้วิจัยมุ่งอธิบายและทำนายความเจริญงอกงามที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งทางด้านกายภาพและพฤติกรรมทางสังคม ตลอดจนมุ่งควบคุมสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นให้เป็นไปตามที่ประสงค์ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง บุคลิกภาพ เจตคติ ความเชื่อ ตลอดจนคุณลักษณะด้านต่าง ๆ ทางสมอง ซึ่งอาจแปรเปลี่ยนไปตามเพศ อายุ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น การศึกษาความเจริญงอกงามอาจทำได้ 2 วิธีคือ (1) การศึกษาแบบติดตามผลระยะยาว (Longitudinal technique) คือการศึกษาความเจริญงอกงามโดยเลือกศึกษาเพียงกลุ่มเดียว แล้วติดตามกลุ่มนี้ไปตลอดระยะเวลายาวเท่าที่ต้องการศึกษา การศึกษาแบบนี้มีข้อยุ่งยากในการติดตามผล และเสียเวลามากแต่ก็เชื่อถือได้มากจากการตั้งชื่อเรื่อง (2) การศึกษาแบบติดตามผลระยะสั้น (Crossectional technique) คือการศึกษาความเจริญงกงามโดยเลือกศึกษากับเด็กหลาย ๆ กลุ่มที่มีความแตกต่างกันในอายุหรือระดับชั้นเรียน ในช่วงเวลาเดียวกันก็จะทราบลักษณะความเจริญงอกงามในตัวแปรนั้น ๆ วิธีนี้จะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แต่การแปลผลอาจเชื่อถือได้ไม่ดีนัก และต้องระวังการตั้งชื่อเรื่องเป็นพิเศษในเรื่องการเลือกกลุ่มตัวอย่างให้เป็นตัวแทนของประชากร (3) การศึกษาแนวโน้ม (Trend study) เป็นการศึกษาลักษณะเดียวกับการศึกษาความเจริญงอกงาม คือศึกษาเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน แต่มีลักษณะที่เพิ่มขึ้นคือ การศึกษาแบบนี้อาศัยข้อมูลดังกล่าวมาทำนายหรือคาดคะเนเหตุการณ์หรือตัวแปรในอนาคต ควรตั้งชื่อเรื่องให้สอดคล้องกับการศึกษาแนวโน้มนี้อาจผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ง่ายถ้ามีเหตุการณ์ที่ผิดปกติมาแทรกซ้อน เพื่อหาแนวโน้มที่สามารถนำมาใช้ในการวางแผนงานของโรงเรียน ตลาดการค้า การลงทุน โรงงานอุตสาหกรรม การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยประเภทนี้จึงใช้ได้ดีในวงการธุรกิจ อุตสาหกรรม การเมือง การศึกษา ฯลฯ
- การตั้งชื่อเรื่องการวิจัยเชิงทดลอง เป็นกระบวนการค้นหาความจริง ทฤษฎีหลักการ เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของตัวแปรที่เกี่ยวข้องภายใต้เงื่อนไขที่มีการควบคุมโดยกระบวนการวิจัย เพื่อศึกษาพฤติกรรม สถานการณ์ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นการวิจัยที่ให้ผลที่มีความเชื่อถือสูงที่สุด
สรุป
จากที่กล่าวมาข้างต้นท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยได้อย่างถูกต้องแน่นอน แต่ต้องยอมรับว่ายังมีปัจจัยอื่นเข้าเกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อการได้รับการอนุมัติชื่อเรื่องของท่านอีกด้วย ดังนั้นท่านที่ต้องการนำเสนอผลงานแสดงปัจเจกเฉพาะตัวที่มีคุณภาพงานวิจัยในระดับสูง ดังนั้น หากท่านกำลับประสบปัญหาการทำวิจัยสามารถใช้บริการรับทำวิจัย“ครบวงจร” THESIS DD และ DD THESIS โดยทีมงาน ดร. ครอบคลุมอาจารย์ทุกสาขาวิชาไว้คอยให้คำแนะนำ